เหตุผลที่เขียนบทความชุดนี้ เพราะหลังจากเขียนหนังสือเล่มดังกล่าวไปแล้ว (ตามรูปข้างบน) เทคโนโลยีจาวาสคริปต์ก็ดูเหมือนพัฒนาต่อเนื่อง (ยังไม่นิ่ง) ด้วยเหตุนี้ ....
- เนื้อหาทั้งหมดต่อไปนี้ จะเหมือนเป็นภาคต่อจากหนังสือดังกล่าว
- จะทบทวนจาวาสคริปต์ตามมาตรฐานเก่า ES5 นิดหน่อย
- จะเป็นการพาทัวร์ภาษาจาวาสคริปต์ (JavaScript) ยุคสมัยใหม่ตามมาตรฐาน ES6
- จะพูดถึงภาษาจาวาสคริปต์ (JavaScript) ยุคสมัยใหม่ตามมาตรฐาน ES7, ES8
- รวมทั้งเพิ่มเนื้อหาที่ไม่อยู่ในหนังสืออีกมากมาย
- ทั้งนี้เนื้อหาจะต่างจากหนังสือข้างต้น ไม่เหมือนกันซะเท่าไร
- ซึ่งตอนนี้ผมยังเขียนสรุปไม่เสร็จดี ว่างๆ ก็จะมาอัพเดตใหม่เรื่อยๆ
*** เขียนเสร็จไปแล้ว 20%
*** ใครเอาเนื้อหาผมไปใช้ โปรดให้เครดิตลิงค์ต้นฉบับต้นด้วยนะคร๊าบบบบบ
ถ้าสนใจข่าวสารไอที ติดตามได้ที่เพจ
สามารถให้คำชี้แนะ แนะนำผม คอมเมนต์ผมได้ตลอดเวลาที่
- ศูนย์หนังสือจุฬา
- ร้านนายอินทร์
- ร้าน Book Smile
- ร้าน kinokuniya thailand
- [ผ่านฟ้าบุ๊คเซ็นเตอร์] (http://www.phanpha.com/item/พัฒนาเว็บแอปพลิเคชั่นด้วย-javascript)
- ซีเอ็ดบางสาขา
- และร้านหนังสืออื่น ๆ ที่ไม่ได้กล่าว
- บทที่ 1 แนะนำภาษาจาวาสคริปต์
- บทที่ 2 ทวน ES5 (มาตรฐานเก่า)
- บทที่ 3 แนะนำ ES6
- บทที่ 4 แนะนำ ES7
- บทที่ 5 แนะนำ ES8
-
ภาษาจาวาสคริปต์ (JavaScript) เป็นภาษาโปรแกรมเชิงวัตถุแบบไดนามิกไทป์ (Dynamic types) ซึ่งไวยากรณ์ของมันได้นำโครงสร้างมาจากภาษายอดนิยมอย่างจาวา (Java) กับภาษาซี (C)
-
โปรแกรมที่เขียนขึ้นด้วยจาวาสคริปต์ จะต้องทำงานอยู่บนจาวาสคริปต์เอ็นจิ้น (JavaScript engine) ที่เป็นทั้งตัวแปลภาษา (Interpreter) และใช้รันโปรแกรม สำหรับการทำงานของจาวาสคริปต์ที่เราคุ้นเคยกันดี จะทำงานอยู่บนเว็บเบราเซอร์ เช่น Google Chrome, Firefox และ Internet Explorer เป็นต้น ซึ่งจะมีจาวาสคริปต์เอ็นจิ้นติดตั้งมาให้อยู่แล้ว
-
นักพัฒนาซอฟต์แวร์ส่วนใหญ่ล้วนรู้จักภาษาจาวาสคริปต์ ซึ่งถือว่านิยมใช้กันมากภาษาหนึ่งในโลก ถ้าศึกษาอย่างผิวเผินก็อาจคิดว่าง๊ายง่าย แต่เมื่อศึกษาลงลึก ๆ แล้ว จะพบว่ามันโคตรจะอินดี้ เป็นภาษาปราบเซียนตัวหนึ่ง จนคนไม่ค่อยเข้าใจกันมากเท่าไรนัก จนหารู้ไม่ว่ามันมีความสามารถแฝงที่ซ้อนเร้นอยู่เยอะเลย
-
จาวาสคริปต์ไม่ใช่ภาษา Java นะครับ คนละภาษา (คนมักสับสนกัน)
-
คนส่วนใหญ่รู้แค่ว่าใช้จาวาสคริปต์ร่วมกับภาษา HTML (ปัจจุบันเวอร์ชั่น HTML5) กับ CSS (ปัจจุบันเวอร์ชั่น CSS3) เพื่อทำให้เว็บมันไดนามิก ฟุ้งฟิ้ง กรุ้งกิ๊ง (มันดังในฝั่ง Font-end มานาน)
-
แต่ปัจจุบันนี้จาวาสคริปต์สมัยใหม่ มันก้าวหน้าไปไกลมาก ๆๆๆ เพราะสามารถทำงานอยู่ฝั่งเซิร์ฟเวอร์ได้ (Back-end) ด้วย Node.js แม้แต่เอาไปทำแอพบนโมบาย หรือแม้แต่โรบอท ก็ยังทำได้ด้วย ….อายย่ะ
- องค์กร Ecma International (องค์กรจัดการมาตรฐานแห่งยุโรป) เป็นผู้กำหนดมาตรฐานจาวาสคริปต์ ซึ่งจะเรียกมาตรฐานนี้ว่า “ECMA-262” ส่วนตัวภาษาจาวาสคริปต์นั้น ก็จะมีชื่อเรียกเต็มยศอย่างเป็นทางการว่า “ภาษา ECMAScript“
- ES6 (ECMAScript 2015) เป็นมาตรฐานใหม่ล่าสุดของจาวาสคริปต์ ประกาศออกมาเมื่อกลางเดือนมิถุนายนปี 2558 ซึ่งถือว่าเปลี่ยนแปลงเวอร์ชั่นครั้งใหญ่สุดในประวัติศาสตร์ของภาษานี้ หลังจากไม่ได้เปลี่ยนมาเกือบ 6 ปี (เวอร์ชั่นเก่าคือ ES5)
-
ปีค.ศ. 2016 เวอร์ชั่นใหม่ ES7 (ECMAScript 2016) ก็ออกมาแหละ ส่วนปีหน้า 2017 ก็จะเป็นคิวของเวอร์ชั่น ES8 (ECMAScript 2017) จะออกมาเช่นกัน
-
ต้องเข้าใจอย่างนี้นะครัช เนื่อง ES6 มันใหญ่โตอลังการงานสร้างมาก คืนรอปล่อยออกมาหมดทีเดียว ก็คงรอหลายชาติภพ อาจทำให้มีเสียงบ่นตามมาได้ ด้วยเหตุนี้เข้าถึงเพิ่มฟีเจอร์เล็กยิบ ๆ ย่อย ๆ มาใส่ไว้ในเวอร์ชั่นหลัง ๆ แทน
-
โดยคาดว่าจากนี้ไป จะมีการประกาศเวอร์ชั่นใหม่ทุก ๆ ปี โดยให้คิดเสียว่า ES6 เหมือนโปรแกรมหลัก ส่วนเวอร์ชั่นที่ออกตามทีหลัง ไม่ได้ว่าจะเป็น ES7, ES8 และ ESXXXXX มันก็คือการอัพเดตซอฟต์แวร์ อะไรประมาณนี้
-
API ที่ใช้ติดต่อกับ DOM หรือใช้งานร่วมกับ HTML5, CSS3 ใน ES6 เขาไม่ได้เปลี่ยนแปลงอะไรเลย
-
ES6, ES7, ES8 มันเป็นแค่มาตรฐานใหม่สด ๆ ซิง ๆ ดังนั้นการใช้งานโดยตรงบนเว็บบราวเซอร์ (ปัจจุบันที่ผมเขียนอยู่นี้) ก็ยังไม่ support ทุกฟีเจอร์ ต้องมีตัวคอมไพล์ช่วยก่อน (ยังมีข้อจำกัดบางประการ) …แต่ถ้าใครใช้ Node.js เวอร์ชั่น 7 ขึ้นไป (ยังไม่ปล่อยออกมา) ถึงจะรองรับ ES6 ได้ 100% (ES7 รองรับได้บางส่วน)
- TypeScript เป็นภาษาดัดแปลงมาจากจาวาสคริปต์ โดยทั้งนี้ไวยากรณ์และฟีเจอร์ต่างๆ จะมากกว่า อาจมองว่าเป็นซุปเปอร์เซตของจาวาสคริปต์อีกที (แน่นอนมันครอบคลุม ES6) ซึ่งเจ้าของภาษาคือ Microsoft
- มีให้ใช้ฟรีหลายตัวมาก เช่น Sublime Text, Atom, Free JavaScript Editor, Aptana Studio, NetBeans, Eclipse ฯลฯ
- หรือแม้แต่ใช้อิดิเตอร์ธรรมดา เช่น Notepad, Notepad++ และ EditPlus เป็นต้น
ถ้าใครจับจาวาสคริปต์ยุคนี้ จะหนีไม่พ้นต้องรู้จัก Node.js …เอ๊ะ ว่าแต่มันคืออะไรล่ะ?
ถ้าอธิบายสั้นๆ มันคือตัวรันไทม์ (Runtime) ของภาษาจาวาสคริปต์ โดยที่เราไม่ต้องพึ่งพาเว็บบราวเซอร์เลย
ด้วยเหตุนี้จึงสามารถรันจาวาสคริปต์นอกเว็บเบราเซอร์ได้ ซึ่งปัจจุบันเขานิยมนำ Node.js มาใช้งานฝั่งเซิร์ฟเวอร์ (Back-end) หรือจะทำงานตามลำพังเป็นแบบ Standalone ก็ย่อมได้นะลูกพี่
ถ้าสนใจเนื้อหาของ Node.js มากกว่านี้ ก็สามารถอ่าน ebook ที่ผมแจกฟรีได้ที่
- วิธีติดตั้ง Node.js และ npm เบื้องต้น (Node.js เวอร์ชั่น 6)
- Node.js เล่ม 1
- [Node.js เล่ม 2] (http://www.ebooks.in.th/ebook/37836/เสียดายไม่ได้อ่าน_จาวาสคริปต์ฝั่งเซิร์ฟเวอร์_Node.js_ฉบับย่อ_เล่ม2)
- การใช้งาน MongoDB เบื้องต้น (แถมให้อีกอัน)
*** ต้องสมัครเป็นสมาชิกของ http://www.ebooks.in.th ถึงจะโหลด PDF ได้
ถ้าใครขี้เกียจสมัครเป็นสมัครชิก ก็ให้ใช้ลิงค์ดังต่อไปนี้แทน
- http://www.ebooks.in.th/ebook/37385/วิธีติดตั้ง_Node.js_และ_npm_เบื้องต้น/
- http://www.ebooks.in.th/ebook/37714/เสียดายไม่ได้อ่าน_จาวาสคริปต์ฝั่งเซิร์ฟเวอร์_Node.js_(ฉบับย่อ)/
- http://www.ebooks.in.th/ebook/37836/เสียดายไม่ได้อ่าน_จาวาสคริปต์ฝั่งเซิร์ฟเวอร์_Node.js_ฉบับย่อ_เล่ม2/
- http://www.ebooks.in.th/ebook/37861/การใช้งาน_MongoDB_เบื้องต้น/
- เล่มอื่นเผื่อใครสนใจ http://www.ebooks.in.th/adminho/
ตัวอย่างต่อไปนี้จะแสดงการเขียนจาวาสคริปต์ตามมาตรฐานเก่า ES5 ซึ่งจะต้องแทรกอยู่ภายใต้แท็ก < script > ...< /script > ของไฟล์ HTML โดยทั้งนี้จะสมมติว่าบันทึกเป็นไฟล์ index.html
*** ผมขอติ้งต่างว่า คุณเขียนจาวาสคริปต์บน HTML เป็นกันอยู่แล้วเนอะ
<!-- ไฟล์ชื่อ index.html-->
<!DOCTYPE html>
<html>
<head></head>
<body>
<h1 id="element1"></h1>
<script>
// ซอร์สโค้ดตามมาตราฐานเก่า ES5
function say(message){
var element = document.querySelector('#element1');
element.innerHTML = message;
}
say("Hello, world!");
</script>
</body>
</html>
โครงสร้างโปรเจค
C:\ES6>
|-- index.html
เมื่อดับเบิลคลิกที่ไฟล์ index.html จะปรากฏตามรูป
ต่อไปจะแสดงการใช้งานจาวาสคริปต์นอกเว็บเบราเซอร์ ด้วยการใช้ Node.js รันไฟล์จาวาสคริปต์ในฝั่งเซิร์ฟเวอร์
var http = require('http');
http.createServer(function (request, response) {
response.writeHead(200, {'Content-Type': 'text/plain'});
response.end("Hello, world!");
}).listen(8001, '127.0.0.1');
console.log('Server running at http://127.0.0.1:8001/');
ซอร์สโค้ดข้างบน อย่าเพิ่งสนใจรายละเอียดนะครับ (มันนอกประเด็น) แต่จะสมว่าบันทึกเป็นไฟล์ server.js ดังโครงสร้างโปรเจคต่อไปนี้
C:\ES6>
|-- server.js
รันไฟล์ server.js ผ่านทาง Node.js ด้วยความสั่งต่อไปนี้ ตามรูป
*** อ่านวิธีติดตั้ง และใช้งาน Node.js เพิ่มเติม ได้จากหนังสือที่ผมแจกฟรีข้างต้นนะครับ
เมื่อเปิดเว็บเบราเซอร์แล้วกรอก URL เป็น http://127.0.0.1:8001/ ก็จะเห็นข้อความ Hello, world! แสดงออกมาทางหน้าเว็บเพจ ตามรูป
เนื่องจากตอนที่ผู้เขียนแต่งหนังสือ มาตรฐาน ES6 เพิ่งออกมาใหม่ และเว็บเบราเซอร์ส่วนใหญ่จะใช้งานได้กับ ES5 ด้วยเหตุนี้จึงต้องนำซอร์สโค้ดที่เขียนด้วย ES6 มาคอมไพล์ ด้วยคอมไพเลอร์ที่เรียกว่า “transpiler” เพื่อแปลงจาก ES6 ให้กลายมาเป็นเวอร์ชั่น ES5 ที่เว็บเบราเซอร์ส่วนใหญ่ใช้งานได้ไปก่อน
โดยตัวอย่างต่อไปนี้จะแสดงการเขียนจาวาสคริปต์บนเว็บเบราเซอร์ โดยใช้ Traceur ทำตัวเป็น transpiler (อย่าเพิ่งสนใจรายละเอียดซอร์สโค้ดที่ยกมาให้ดูนะครับ)
<!-- ไฟล์ index.html-->
<!DOCTYPE html>
<html>
<head>
<!-- Traceur (ใช้เป็นตัว transpiler)-->
<script src="https://google.github.io/traceur-compiler/bin/traceur.js"></script>
<script src="https://google.github.io/traceur-compiler/bin/BrowserSystem.js"></script>
<script src="https://google.github.io/traceur-compiler/src/bootstrap.js"></script>
</head>
<body>
<h1 id="element1"></h1>
<script type="module"> // ต้องเขียนกำกับ type = "module"
class Chat{ // class ไวยากรณ์ใหม่ของ ES6
constructor(message) { // constructor ไวยากรณ์ใหม่ของ ES6
this.message = message;
}
say(){
let element = document.querySelector('#element1');
element.innerHTML = this.message;
}
}
let chat = new Chat("Hello, world!"); // let ไวยากรณ์ใหม่ของ ES6
chat.say();
let array = ["A", "B", "C"]; // let ไวยากรณ์ใหม่ของ ES6
console.log(array.includes("A")); // true -- เมธอดของอาร์เรย์ที่เพิ่มเข้ามาใน ES7
</script>
</body>
</html>
จะสมมติว่าบันทึกเป็นไฟล์ index.html โดยมีโครงสร้างโปรเจคดังนี้
C:\ES6>
|-- index.html
เมื่อดับเบิลคลิกที่ไฟล์ index.html จะปรากฏตามรูป
*** Traceur ที่เห็นเป็นของ Google แต่ทั้งนี้ปัจจุบันตัว transpiler ก็มีหลายเจ้าให้เลือก (ผมแสดงให้ดูแค่เจ้าเดียวครับ) ซึ่งเท่าที่ผมลองใช้งานดูหลายเจ้า มันก็ยังไม่นิ่งเท่าไร ถ้าจะนำมันไปใช้งานยังไง ก็ควรหมั่นอัพเดตจากทีมสร้างเขาอีกทีนะครับ ...ที่สำคัญวิธีใช้งานแต่ละเจ้า ก็ดันแตกต่างกันอีกแฮะ!
จนหนังสือที่ผมเขียนไป ถ้าใครลองทำตาม แล้วใช้งาน ES6 ไม่ได้ เค้าขอโทษแล้วกันน๊า! ยังไงเดี่ยวขออัพเดตโค้ดล่าสุดที่เว็บนี้แล้วกันเนอะ
ต่อไปจะแสดงการเขียนจาวาสคริปต์ด้วย ES6 กับ ES7 แล้วสั่งรันผ่านทาง Node.js โดยตรง ไม่ต้องใช้ transpiler (หรือจะใช้ ก็แล้วแต่ครับ)
*** ทั้งนี้ Node.js ตอนที่ผมเขียนหนังสือ มันรองรับ ES6 ได้แค่ 93 % (เศร้ากันไหม?)
*** ส่วน ES7 ก็ยังรองรับได้ไม่เต็มที่
class Chat{ // class ไวยากรณ์ใหม่ของ ES6
constructor(message) { // constructor ไวยากรณ์ใหม่ของ ES6
this.message = message;
}
say(){
console.log(this.message);
}
}
let chat = new Chat("Hello, world!"); // let ไวยากรณ์ใหม่ของ ES6
chat.say(); // "Hello, world!"
let array = ["A", "B", "C"];
console.log(array.includes("A")); // true -- เมธอดของอาร์เรย์ที่เพิ่มมาใน ES7
จะสมมติว่าบันทึกเป็นไฟล์ test.js โดยมีโครงสร้างโปรเจคดังนี้
C:\ES6>
|-- test.js
รันไฟล์ test.js ผ่านทาง Node.js ด้วยความสั่งต่อไปนี้ ตามรูป
(บทนี้ ยังไม่เสร็จดีครับ)
คอมเมนต์ในจาวาสคริปต์ ก็จะเหมือนภาษาที่มีรากฐานมาจากภาษา C โดยจะใช้เครื่องหมาย // นำหน้าประโยคที่ต้องการคอมเมนต์ได้เพียงบรรทัดเดียวเท่านั้น
var x = 10; //This is an example.
แต่ถ้าต้องการคอมเมนต์หลายๆ บรรทัด ก็ให้ใช้เครื่องหมาย /*… */ มาครอบเปิดและปิดท้าย กลุ่มประโยคที่ต้องการ
/* This is an example
ECMAScript 6 is very easy*/
ประโยคคำสั่ง console.log() จะเป็นฟังก์ชั่น (Function) ในจาวาสคริปต์ ที่ใช้ประโยชน์ในแง่ของการดีบั๊ก (Debug) เพื่อแสดงข้อความออกทางหน้าคอนโซล (Console)
<!DOCTYPE html>
<html>
<head></head>
<body>
<h1>Hello, world!</h1>
<script>
console.log("Hello, world!");
</script>
</body>
</html>
จะปรากฏผลลัพธ์ดังนี้
จาวาสคริปต์ถือว่าเป็นภาษาหนึ่ง ที่ไม่ต้องใช้เครื่องหมายเซมิโคลอน (;) ต่อท้ายแต่ละประโยคคำสั่งก็ได้ ดังตัวอย่าง
// ไม่ต้องมี ; ต่อท้ายประโยคก็ได้
console.log("Hello world")
// หรือมี ; ต่อท้ายประโยคก็ได้
console.log("Hello world");
แต่ถ้ามี 2 ประโยคคำสั่งขึ้นไป เขียนติดกันอยู่ภายในบรรทัดเดียวกัน จะต้องมี ; แบ่งคันเอาไว้เสมอ
// แบบนี้จะเกิด Syntax Error เพราะไม่มี ; แบ่งคั่นประโยค
// console.log("Hello, world!") console.log("Hello, world!");
console.log("Hello, world!") ; console.log("Hello, world!")
// Hello, world!
// Hello, world!
แต่ทั้งนี้เขาจะนิยมใส่ ; ต่อท้ายประโยคเหมือนหลายๆ ภาษา
การประกาศตัวแปร จะใช้คีย์เวิร์ด var นำหน้าชื่อตัวแปร ดังตัวอย่าง
var x = 100;
หรือจะประกาศตัวแปรให้อยู่ในบรรทัดเดียวกันก็ได้ ดังตัวอย่าง
var x = 1, y = 2, z = 3; // ประกาศตัวแปร x, y และ z ให้อยู่ในบรรทัดเดียวกัน
แต่ถ้าเราไม่ได้กำหนดค่าเริ่มต้นให้กับตัวแปร ตอนประกาศตัวแปร ก็จะมีค่าเป็น undefined ดังตัวอย่าง
var x;
console.log(x); // undefined
สำหรับข้อมูล (Literals) ที่สามารถกำหนดค่าให้กับตัวแปรได้นั้น ในจาวาสคริปต์ก็จะมีหลากหลายชนิดข้อมูล แต่โดยหลัก ๆ จะมีอยู่ 2 แบบได้แก่
- ข้อมูลพื้นฐาน (Primitives data)
- อ็อบเจ็กต์ (Object)
สำหรับข้อมูลพื้นฐาน จะแยกย่อยได้นี้
- null
- undefined
- ตัวเลข (Number)
- สตริง (String) รวมทั้งเทมเพลตสตริง (Template String)
- บูลีน (Boolean)
- ซิมโบล (Symbol)
ตัวอย่างต่อไปนี้จะเป็นการประกาศฟังก์ชั่น
function calculate(param1, param2){
return param1 * param2;
}
ส่วนวิธีเรียกใช้งานฟังก์ชั่น ก็จะเหมือนกับภาษาเขียนโปรแกรมทั่ว ๆ ไป ดังตัวอย่าง
var result = calculate(10, 2);
console.log(result); // 20
การประกาศฟังก์ชั่น รวมทั้งการประกาศตัวแปรแบบ var มันจะลอยขึ้นไปประกาศอยู่ข้างบนสุดของขอบเขตการมองเห็น ดังตัวอย่าง
function myFunction(num){
// สามารถมองเห็นตัวแปร value
console.log(value); // undefined
if(num > 10) {
var value = num*10; // ประกาศตัวแปร value ที่ตรงนี้ แต่มองเห็นได้ทั่วฟังก์ชั่น
/* ซอร์สโค้ด */
} else {
// ถ้าเงื่อนไขประโยค if เป็นเท็จ ก็จะเข้ามาทำงานที่ else
// ซึ่งจะเห็นตัวแปร value มีค่าเป็น undefined
console.log(value); // undefined
}
// สามารถมองเห็นตัวแปร value ได้ หลังจากประโยค if …else ทำงานเสร็จสิ้น
console.log(value);
}
จากตัวอย่างซอร์โค้ดดังกล่าวที่ยกมาให้ดู จริง ๆ แล้ว จาวาสคริปต์จะทำการแปลงซอร์สโค้ดให้มีหน้าตาดังต่อไปนี้
function myFunction(num){
var value; // ประกาศตัวแปร value โดยไม่มีค่าเริ่มต้น จึงทำให้มีค่าเป็น undefined
console.log(value); // undefined
if(num > 10) {
value = num*10; // บรรทัดนี้เป็นเพียงการกำหนดค่าให้กับตัวแปร value
/* ซอร์สโค้ด */
} else {
console.log(value); // undefined
}
console.log(value);
}
(บทนี้ ยังไม่เสร็จดีครับ)
(บทนี้ ยังไม่เสร็จดีครับ)
การประกาศตัวแปรแบบ var จะถูกลอยขึ้นไปประกาศอยู่ด้านบนสุด (hoist)
แต่การใช้ let ในการประกาศตัวแปร ขอบเขตการมองเห็นเริ่มตั้งแต่จุดที่ประกาศใช้งานภายในบล็อก (ไม่ลอยขึ้นไปอยู่บนสุด หรือ hoist) ส่วนตัวแปรก็จะมีชีวิตอยู่ภายในบล็อกปัจจุบัน ดังตัวอย่าง
function calculate(num){
if (num > 10) {
let value = num*10; // ประกาศตัวแปรแบบ let
// ซอร์สโค้ดส่วนที่เหลือ
console.log(value); // มองเห็นตัวแปร value
} else {
// มองไม่เห็นตัวแปร value
}
// มองไม่เห็นตัวแปร value
}
การประกาศตัวแปรค่าคงที่ (Constants) จะใช้คีย์เวิร์ด const นำหน้าชื่อตัวแปร
แต่เราต้องกำหนดให้มันมีค่าเริ่มต้น ตั้งแต่ประกาศตัวแปรครั้งแรก และหลังจากนั้นก็ห้ามไปแก้ไขค่าอะไรภายหลังเด็ดขาด มิฉะนั้นจะเกิด error ดังตัวอย่าง
const MAX_COUNT = 100; // ประกาศถูกต้องตามไวยากรณ์
const MAX_VALUE; // เกิด error เพราะไม่ได้กำหนดค่าตั้งต้นให้แต่แรก
const MESSAGE = "Hello"; // ประกาศถูกต้องตามไวยากรณ์
MESSAGE = "Bye"; // เกิด error เพราะไปแก้ไขตัวแปรค่าคงที่ภายหลังประกาศใช้งานแล้ว ซึ่งจะทำไม่ได้
(เดี่ยวมาเขียนต่อให้เสร็จ)
ในหลาย ๆ ภาษาจะมี "Lambda expressions" ซึ่งคนที่มาจากภาษาอื่นอาจรู้จักกันดีอยู่แล้ว เช่น ใน C# จะใช้สัญลักษณ์ => หรือถ้าเป็นจาวา (ตั้งแต่ Java 8) จะใช้สัญลักษณ์ ->
แต่สำหรับจาวาสคริปต์จะเรียกว่า "Arrow Functions" แปลตรงตัวก็คือ "ฟังก์ชั่นลูกศร" โดยใช้เครื่องหมาย => (มันคือฟังก์ชั่นไร้ชื่อ ที่ไม่ได้ใช้คีย์เวิร์ด function) ซึ่งมันเขียนได้หลายวิธีมากๆ ดังตัวอย่างต่อไปนี้
let arrowFunc = function(value){
return value;
};
console.log(arrowFunc(122)); // 122
จากตัวอย่างดังกล่าว สามารถเปลี่ยนมาเขียนแบบฟังก์ชั่นลูกศร ได้ดังนี้
let arrowFunc = value => {
return value;
};
// เรียกใช้ฟังก์ชั่นได้เหมือนปกติธรรมดา
console.log(arrowFunc(122)); // 122
// เหมือนในตัวอย่างที่ 1 แต่การเขียนจะสั้นและกระชับกว่า
// ไม่ต้องมีเครื่องหมายปีกกา {....} ครอบบอดี้ฟังก์ชั่น รวมทั้งไม่ต้องเขียนประโยคคำสั่ง return
let arrowFunc = value => value;
console.log(arrowFunc(122)); // 122
จะเสมือนเขียนเป็น
let arrowFunc = function(value){
return value;
};
อีกตัวอย่างหนึ่ง
let arrowFunc2 = value => console.log(value);
arrowFunc2(122); // 122
จะเสมือนเขียนเป็น
let arrowFunc2 = function(value){
return console.log(value);
};
// ฟังก์ชั่นลูกศรที่ไม่มีการประกาศพารามิเตอร์อะไรเลย
let arrowFunc = () => 122;
console.log(arrowFunc()); // 122
จะเสมือนเขียนเป็น
let arrowFunc = function(){
return 122;
};
// ฟังก์ชั่นลูกศรที่ไม่มีพารามิเตอร์ และตัวบอดี้ของฟังก์ชั่นก็ว่างเปล่า
let arrowFunc = () => {};
arrowFunc();
จะเสมือนเขียนเป็น
var arrowFunc = function(){};
// ใส่เครื่องหมายวงเล็บ เพื่อครอบอ็อบเจ็กต์ที่ถูกรีเทิร์นออกมา
let getFont = () => ( { color: "red", size: 200 } );
console.log(getFont()); // {color: "red", size: 200}
จะเสมือนเขียนเป็น
let getFont = function(){
return {color: "red", size: 200};
};
// มีวงเล็บครอบพารามิเตอร์เอาไว้
let sum = (val1, val2, val3) => val1 + val2 + val3;
console.log(sum(1,2,3)); // 6
จะเสมือนเขียนเป็น
let sum = function(val1, val2, val3){
return val1 + val2 +val3;
};
// ฟังก์ชั่นลูกศรที่ใช้พารามิเตอร์แบบดีฟอลต์
let sum = (val1 = 1, val2 = 2, val3 = 3) => val1 + val2 + val3;
console.log(sum()); // 6
จะเสมือนเขียนเป็น
let sum = function(val1 = 1, val2 = 2, val3 = 3){
return val1 + val2 +val3;
};
// ฟังก์ชั่นลูกศรที่ใช้พารามิเตอร์แบบเรสต์
let max = (...value) => Math.max(...value);
console.log(max(1, 2, 3, 6)); // 6
จะเสมือนเขียน
let max = function(...value){ // พารามิเตอร์แบบเรสต์
return Math.max(...value); // โอเปอเรเตอร์สเปรด
};
(ยังเขียนไม่เสร็จดี)
เทมเพลตสตริง (Template strings) จะใช้เครื่องหมาย back-tick (ตัวอักษร grave accent) มาครอบข้อความเอาไว้ (เครื่องหมายจะคล้ายๆ กับคำพูดเดี่ยว แต่มันจะเอนไปด้านหน้าเล็กน้อย) ดังตัวอย่าง
let msg = `JavaScript`;
console.log(msg); // "JavaScript"
console.log(msg.length); // 10
console.log(typeof msg); // "string"
เทมเพลตสตริงสามารถเขียนข้อความได้มากกว่า 1 บรรทัด (Multiline strings) ดังตัวอย่าง
let div = `<div>
<h1>Hello world</h1>
</div>`;
console.log(div);
แสดงผลลัพธ์เป็น
<div>
<h1>Hello world</h1>
</div>
ปกติแล้วการเขียนนิพจน์ร่วมกับสตริงแบบเดิมจะดูยุ่งยากมาก เพราะต้องใช้เครื่องหมายบวก (+) เชื่อมสตริงกับนิพจน์ต่าง ๆ เข้าด้วยกัน ดังตัวอย่าง
let a = 5, b = 10, c = 100;
console.log("Price $" + ((a*b).toFixed(2)) + ", not " + (c + a) ); // "Price $50.00, not 105"
แต่ถ้าลองเปลี่ยนมาใช้เทมเพลตสตริง ก็สามารถยัดนิพจน์เข้าไปอยู่ในสตริงได้เลย ดังตัวอย่าง
let a = 5, b = 10, c = 100;
console.log(`Price $${(a*b).toFixed(2)}, not ${c + a}` ); // "Price $50.00, not 105"
(เดี่ยวมาเขียน)
(เดี่ยวมาเขียน)
คลาสใน ES6 จะเหมือนกับภาษาโปรแกรมเชิงวัตถุอื่น ๆ (OOP: Object Oriented Programming) ที่เปรียบได้เป็นพิมพ์เขียวเอาไว้สร้างอ็อบเจ็กต์ โดยตัวอย่างต่อไปนี้จะแสดงการประกาศคลาส Car ขึ้้นมา (ยังไม่มีสมาชิกอะไรอยู่ข้างใน)
class Car {
// สมาชิกภายในคลาส ยังไม่ได้ประกาศ
}
มันก็เหมือนๆ ภาษาอื่น เราสามารถใช้โอเปอเรอตร์ new สร้างอ็อบเจ็กต์จากคลาส Car ข้างต้นขึ้นมาได้
let car1 = new Car();
let car2 = new Car();
let car3 = new Car();
ในคลาสสามารถมีสมาชิกดังต่อไปนี้
-
สมาชิกที่เป็นคอนสตรัคเตอร์ (constructor) โดยใช้เมธอดที่ชื่อ constructor ทำหน้าที่เป็นคอนสตรัคเตอร์เหมือนในภาษา OOP อื่นๆ
-
สมาชิกที่เป็นเมธอด
*** ทั้งนี้สมาชิกของคลาส ไม่ว่าจะเป็นคอนสตรัคเตอร์ และเมธอดต่างๆ ไม่ต้องใช้เครื่องหมายจุลภาค , แบ่งคั่นนะ
class Car {
constructor(param){ // ประกาศคอนสตรัคเตอร์
console.log(param);
}
drive(){ // ประกาศเมธอด
console.log("The car is running");
}
}
let carObj = new Car("red"); // "red"
carObj.drive(); // "The car is running"
มีข้อสังเกต ในภาษา C++, Java, C# สามารถประกาศตัวแปรเป็นสมาชิกประเภทหนึ่งในคลาสได้ แต่เสียใจด้วยใน ES6 ไม่สามารถประกาศตัวแปร เป็นสมาชิกในคลาสได้ ...เว้นแต่ใช้ภาษา TypeScript เราก็สามารถประกาศได้
ถึงกระนั้นก็ดีสามารถประกาศพร็อพเพอร์ตี้ที่เป็นตัวแปรขึ้นมาได้ ด้วยการใช้ this.xxx ภายในคอนสตรัคเตอร์ ดังตัวอย่าง (ในเมธอดก็ประกาศได้ แต่อาจผิดหลักการ OOP ซึ่งคอนสตรัคเตอร์ ควรทำหน้าที่กำหนดค่าต่างๆ ให้กับพร็อพเพอร์ตี้ของอ็อบเจ็กต์)
class Car {
constructor(param){
this.param = param; // ประกาศพร็อพเพอร์ตี้ param ขึ้นมา (แต่เป็นของอ็อบเจ็กต์) แล้วกำหนดค่าให้มัน
}
drive(){
console.log(`The ${this.param} car is running`);
}
}
let carObj = new Car("red"); // "red"
carObj.drive(); // "The red car is running"
ให้ลองพิจารณาตัวอย่างต่อไปนี้ประกอบ
class Car {
constructor (speed){
this.speed = speed;
}
drive(){
console.log("Driving speed:", this.speed);
}
}
let carObj = new Car(100);
carObj.drive(); // "Driving speed: 100"
จากคลาส Car และ carObj ในตัวอย่าง ถ้าเราลองใช้ instanceof ตรวจสอบอ็อบเจ็กต์ carObj จะพบว่านอกจากมันเป็นอินสแตนซ์ของ Car แล้ว ยังเป็นอินสแตนซ์ของ Object อีกด้วย โดยจะให้ลองพิจารณาตัวอย่างต่อไนี้ประกอบ
console.log(typeof carObj); // "object"
console.log(carObj instanceof Car); // true
console.log(carObj instanceof Object); // true
จริงๆ แล้วเมธอด drive() ของคลาส Car จะถูกประกาศไว้ที่ Car.prototype ส่วนคลาส Car จริงๆ ก็คือฟังก์ชั่นคอนสตรัคเตอร์ที่มีชื่อว่า "Car" นั่นเอง โดยจะให้ลองพิจารณาตัวอย่างต่อไนี้ประกอบ
console.log(carObj.drive === Car.prototype.drive); // true
console.log(typeof Car.prototype.drive); // "function"
// คลาส Car ก็คือฟังก์ชั่นคอนสตรัคเตอร์ที่ชื่อ Car
console.log(typeof Car); // "function"
console.log(Car.name); // "Car"
console.log(Car === Car.prototype.constructor); // true
console.log(Car.prototype.constructor.name); // "Car"
เราสามารถมีพร็อพเพอร์ตี้แอคเซสเซอร์ (Property accessors) หรือเมธอด getter กับ setter ในคลาส ดังตัวอย่าง
class Car {
constructor (){
this.speedValue = 100;
}
get speed(){ // เมธอด getter
return this.speedValue;
}
set speed(speedValue) { // เมธอด setter
this.speedValue = speedValue;
}
}
let carObj = new Car(100);
console.log(carObj.speed); // 100
carObj.speed = 60;
console.log(carObj.speed); // 60
console.log(carObj.speedValue); // 60 (่ไม่ควรเข้าถึงด้วยวิธีนี้โดยตรง ตามหลัก information hiding ของ OOP)
เมธอดสแตติก (Static methods) คือเมธอดของคลาส ที่เวลาเรียกใช้งานจะต้องผ่านชื่อคลาสโดยตรง (ไม่ต้องเรียกผ่านอ็อบเจ็กต์ เพราะมันไม่ใช่เมธอดของอ็อบเจ็กต์)
โดยสามารถใช้คีย์เวิร์ด static นำหน้าชื่อเมธอด หรือพร็อพเพอร์ตี้แอคเซสเซอร์ก็ได้ แต่มีข้อแม้ว่าห้ามใช้คำว่า static นำหน้าคอนสตรัคเตอร์
class Car {
constructor (speed){ // ห้ามมีคำว่า static นำหน้าคอนสตัคเตอร์
this.speed = speed;
}
drive(){
console.log("Driving speed:", this.speed);
}
static stop() { // เมธอดสแตติก
console.log("Stop this car");
}
}
// เรียกใช้งานเมธอดสแตติกผ่านชื่อคลาส
Car.stop(); // "Stop this car"
let carObj = new Car(100);
carObj.drive(); // "Driving speed: 100"
console.log(typeof carObj.drive); // "function"
console.log(typeof carObj.stop); // undefined
การสืบทอดคลาส (Class Inheritance) ในจาวาสคริปต์ สามารถทำได้โดยใช้คีย์เวิร์ด extends ดังตัวอย่าง
class Calculation {
constructor (a, b){
this.a = a;
this.b = b;
}
multiply(){
return this.a * this.b;
}
}
class Division extends Calculation { // บรรทัด a -- Division สืบทอดมาจาก Calculation
constructor (a, b){
super(a, b); // บรรทัด b -- เรียกใช้คอนสตรัคเตอร์ของ Calculation
// สามารถกำหนดค่าให้กับ this.a และ this.b ที่อยู่ในคลาสแม่ได้โดยตรง
// แต่การทำเช่นนี้จะไม่ปลอดภัย
// this.a = a; // ไม่ควรทำ
// this.b = b; // ไม่ควรทำ
}
divide(){
return this.a / this.b;
}
}
ในตัวอย่างดังกล่าว คลาส Division จะสืบทอดสมาชิก (พร็อพเพอร์ตี้) จากคลาส Calculation ได้แก่ a, b และ multiply โดยเราสามารถเข้าถึงพร็อพเพอร์ตี้เหล่านี้ได้ (ในตัวอย่างถัดไป)
*** ทั้งนี้ในจาวาสคริปต์จะมีเงื่อนไขว่า คลาสลูกต้องเรียก super() ด้วยเสมอ มิฉะนั้นจะเกิด error
let div = new Division(20,10);
console.log(div.multiply()); // 200
console.log(div.divide()); // 2
console.log(div.a, div.b); // 20 10 (ไม่ควรเข้าถึงข้อมูลอ็อบเจ็กต์โดยตรง ด้วยวิธีนี้)
console.log(div instanceof Division); // true
console.log(div instanceof Calculation); // true
console.log(div instanceof Object); // true
ให้สังเกต ตอนสร้างอ็อบเจ็กต์ด้วยประโยค new Division(20,10); นอกจากเรียกคอนสตรัคเตอร์ของตัวเองแล้ว มันยังเรียกของคลาสแม่ด้วยประโยค super(a, b); (ในบรรทัด b ของคลาส Division) ซึ่งจะหมายความว่าให้ส่ง 20 กับ 10 ไปให้คอนสตรัคเตอร์ของ Calculation เพื่อกำหนดค่าให้กับ this.a และ this.b ตามลำดับ
คลาสลูกที่สืบทอดมาจากคลาสแม่ เมธอดของลูกสามารถโอเวอร์ไรด์ (Override) เมธอดของแม่ได้ด้วย และถ้าเมธอดของคลาสลูกจะเรียกเมธอดของคลาสแม่ (ที่ชื่อซ้ำกัน) ก็ให้เรียกผ่าน super แทน ตัวอย่าง
class Calculation {
constructor (a, b){
this.a = a;
this.b = b;
}
multiply(){
return this.a * this.b;
}
}
class Multiplying extends Calculation {
constructor (a, b){
super(a, b);
}
multiply(){ // โอเวอร์ไรด์เมธอด multiply() ของคลาสแม่
return "The result is " + super.multiply();
}
}
let m = new Multiplying(20,10);
console.log(m.multiply()); // "The result is 200"
(บทนี้ ยังไม่เสร็จดีครับ)
หัวข้อต่อไปนี้จะแสดงฟีเจอร์ใหม่ที่เพิ่มเข้ามาใน ES7 (ECMAScript 2016) รวมทั้งที่เปลี่ยนแปลงไปจาก ES6 ซึ่งมันเปลี่ยนเล็กนิดเดียวเอง
โอเปอเรเตอร์ยกกำลังจะใช้สัญลักษณ์เป็น ** (ดอกจันสองอันวางติดกัน) เพื่อแทนการคำนวณตัวเลขแบบยกกำลัง โดยไม่ต้องใช้เมธอด Math.pow() ซึ่งจะมีตัวอย่างการใช้งานดังนี้
let ans = 10 ** 2; // นำเลข 10 มายกกำลัง 2 ( 102 )
console.log(ans); // 100
// เสมือนใช้เมธอด Math.pow() ดังนี้
console.log(ans === Math.pow(10, 2)); // true
โอเปอเรเตอร์ ** จะถือว่ามีลำดับความสำคัญสูงกว่าโอเปอเรเตอร์ทางคณิตศาสตร์ตัวอื่น ๆ
let ans = 3 * 10 ** 2;
console.log(ans); // 300
จากตัวอย่างเดิมจะเสมือนมีวงเล็บมาครอบนิพจน์ (10 ** 2) ดังตัวอย่างซอร์สโค้ดข้างล่าง
let ans = 3 * (10 ** 2);
console.log(ans); // 300
โอเปอเรเตอร์ยกกำลังไม่สามารถใช้งานร่วมกับโอเปอเรเตอร์พวก unary expression เช่น - (เครื่องหมายลบ ไม่ใช่การลบ) ,+ (เครื่องหมายบวก ไม่ใช่การบวก), void, delete และ typeof เป็นต้น โดยจะให้ดูตัวอย่างต่อไปนี้ประกอบ
let ans = -10 ** 2; // Syntax Error
ตัวอย่างที่ยกมานี้จะเกิด error เพราะตรงนิพจน์ -10 ** 2 มันกำกวม เนื่องจากอาจหมายถึง
- -(10 ** 2)
- (-10) ** 2
จากตัวอย่างเดิม ถ้าลองนำวงเล็บมาครอบเพื่อกำหนดลำดับการทำงานเสียใหม่ ก็จะไม่เกิด error ดังตัวอย่าง
let ans = - (10 ** 2); // -100
จากตัวอย่างเติมเช่นกัน ถ้าลองเปลี่ยนการครอบวงเล็บเสียใหม่ ก็จะได้ผลการทำงานที่แตกต่างกันดังนี้
let ans = (-10) ** 2; // 100
ขณะเดียวกันโอเปอเรเตอร์ยกกำลังก็จะมีข้อยกเว้น มันสามารถใช้ได้กับ ++ หรือ -- (เป็น unary expression) โดยไม่ต้องใช้วงเล็บครอบ ลองพิจารณาการใช้โอเปอเรเตอร์ยกกำลังร่วมกับโอเปอเรอเตอร์ ++ ดังตัวอย่าง
let value1 = 9, value2 = 10;
// ใช้งานโอเปอเรเตอร์ ++ แบบ prefix
// ค่าของ value1 ถูกบวกด้วยหนึ่ง ก่อนที่จะยกกำลัง 2
console.log(++value1 ** 2); // 100
console.log(value1); // 10
// ใช้งานโอเปอเรเตอร์ ++ แบบ postfix
// หลังจากยกกำลัง 2 ไปแล้ว ค่าของ value2 จึงถูกบวกด้วยหนึ่งทีหลัง
console.log(value2++ ** 2); // 100
console.log(value2); // 11
ลองพิจารณาการใช้โอเปอเรเตอร์ยกกำลังร่วมกับโอเปอเรเตอร์ -- ดังตัวอย่าง
let value1 = 11, value2 = 10;
// ใช้งานโอเปอเรเตอร์ -- แบบ prefix
// ค่า value1 ถูกลบด้วยหนึ่ง ก่อนที่จะยกกำลัง 2
console.log(--value1 ** 2); // 100
console.log(value1); // 10
// ใช้งานโอเปอเรเตอร์ -- แบบ postfix
// หลังจากยกกำลัง 2 ไปแล้ว ค่าของ value2 จึงถูกลบด้วยหนึ่งทีหลัง
console.log(value2-- ** 2); // 100
console.log(value2); // 9
สำหรับ ES6 นั้น สตริงทุกตัวจะมีเมธอด includes() และเช่นเดียวกันใน ES7 ก็ได้เพิ่มเมธอดดังกล่าวให้กับอาร์เรย์ โดยมีจุดประสงค์ใช้ค้นหาข้อมูลในอาร์เรย์ ถ้าเจอข้อมูลที่ต้องการหาก็จะรีเทิร์นเป็น true ถ้าไม่เจอก็จะได้เป็น false ดังตัวอย่าง (ทำงานแบบเดียวกับ includes() ของสตริงบทที่ 5 ในหนังสือ [1])
let array = ["A", "B", "C"]; // ประกาศอาร์เรย์
console.log(array.includes("A")); // true
console.log(array.includes("Z")); // false
ในตัวอย่างนี้จะค้นหาตัวอักษร "A" เจอในอาร์เรย์ แต่ไม่สามารถค้นหา "Z" พบ เพราะมันไม่มีอยู่ในอาร์เรย์ ปกติแล้วเมธอด includes() จะเริ่มค้นหาที่ตำแหน่งอินเด็กซ์เป็น 0 โดยดีฟอลต์ ดังนั้นถ้าจะเปลี่ยนตำแหน่งอินเด็กซ์ที่ใช้ค้นหา ก็สามารถทำได้ดังตัวอย่าง
let array = ["A", "B", "C"]; // ประกาศอาร์เรย์
// เริ่มค้นหา "B" จากอินเด็กซ์คือ 2 ซึ่งจะพบว่าหาไม่เจอ
console.log(array.includes("B", 2)); // false
// แต่ถ้าเปลี่ยนมาเริ่มค้นหาจากอินเด็กซ์เป็น 1 ก็จะหา "B" เจอ
console.log(array.includes("B", 1)); // true
ในตัวอย่างดังกล่าวจะเห็นว่าเมธอด includes รับค่าอากิวเมนต์ตัวที่สอง เพื่อระบุตำแหน่งเริ่มต้นของอินเด็กซ์ที่จะใช้ค้นหาข้อมูลในอาร์เรย์
เมธอด includes() จะเสมือนใช้โอเปอเรเตอร์ === เปรียบเทียบว่ามีสมาชิกที่ต้องค้นหาหรือไม่ แต่ทว่าเวลามันเห็นข้อมูลเป็น NaN ก็จะมองว่ามีค่าเท่ากัน (เปรียบเทียบแล้วได้ true) ซึ่งจะแตกต่างจาก indexOf ซึ่งจะเสมือนใช้ === เช่นกัน ซึ่งเวลามันเห็น NaN จะมองว่ามีค่าต่างกัน (เปรียบเทียบแล้วได้ false) ดังตัวอย่าง
let array = [0, NaN, 1];
console.log(array.indexOf(NaN)); // -1 -- ไม่เจอสมาชิกที่ต้องการ
console.log(array.includes(NaN)); // true
แต่ถ้าข้อมูลเป็น +0 กับ -0 จะมองว่าเท่ากัน (เปรียบเทียบแล้วได้เป็น true) ทั้ง includes() กับ indexOf() ดังตัวอย่าง
let array = [-0, NaN, 1];
console.log(array.indexOf(+0)); // 0 -- เจอค่า -0 อยู่ในอาร์เรย์ที่ตำแหน่งอินเด็กซ์ 0
console.log(array.includes(+0)); // true
ในอาร์เรย์ระดับบิต (TypedArray บทที่ 12 ของหนังสือ [1]) ก็จะมีเมธอด includes() ให้ใช้งานเหมือนกับอาร์เรย์ในหัวข้อก่อนหน้านี้ทุกประการเด๊ะ ดังตัวอย่าง
let uint8 = new Uint8Array([1, 2, 3, 4, 5]);
console.log(uint8.includes(1)); // true
console.log(uint8.includes(5)); // true
console.log(uint8.includes(10)); // false
หมายเหตุ โอเปอเรเตอร์ ** ตามสเปค ES7 ผมยังหาจาวาสคริปต์เอ็นจิ้นรองรับการรันเทสไม่ได้เลย (เศร้าจัง)
สรุปซอร์สโค้ดที่เห็นในตัวอย่างที่ผ่านมา ขาดการทดสอบจริงจัง
ดังนั้นถ้าในอนาคตสามารถทดสอบได้ เดี่ยวมาปรับแก้เนื้อหาใหม่
ตอนนี้เอาคอนเซปท์ให้เห็นไปก่อนแล้วกันเนอะ!
หัวข้อก่อนหน้านี้ได้กล่าวถึงฟีเจอร์ที่เพิ่มมาใหม่ใน ES7 แต่หัวข้อนี้จะกล่าวถึงฟีเจอร์ที่เปลี่ยนไปจาก ES6 ดังนี้
- trap ที่เป็น enumerate() ของพร็อกซี่ (บทที่ 14 ของหนังสือ [1]) ถูกเอาออกไปใน ES7 เรียบร้อยแล้ว
- เจอเนอเรเตอร์ (บทที่ 13 ของหนังสือ [1]) ไม่มี [[Construct]] ถ้าเรียก new จะเกิด error ขึ้นมาดังตัวอย่าง
function * generator() {}
let iterator = new generator(); // throws "TypeError: f is not a constructor"
สิ่งที่คาดว่าจะเพิ่มเข้ามาใน ES8 (ECMAScript 2017) (มีนิดเดียว)
- Object.values()
- Object.entries()
- [1] หนังสือ “พัฒนาเว็บแอปพลิเคชั่นด้วย JavaScript” จะอธิบายถึงมาตรฐานตัวใหม่ ECMAScript 2015 หรือเรียกสั้น ๆ ว่า “ES6” หรือ “ES6 Harmony” โดยเล่มนี้ตีพิมพ์และจัดจำหน่ายโดยซีเอ็ด
- [2] https://developer.mozilla.org/en-US/docs/Web/JavaScript/
- [3] https://github.com/nzakas/understandinges6/blob/master/manuscript/B-ECMAScript-7.md
- [4] https://tc39.github.io/ecma262/2016/